วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

RAM คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร


RAM (แรม)

                 RAM ย่อมาจาก Random Access Memory คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วในการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ เพื่อส่งไปให้ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลตามต้องการ ก่อนจะแสดงผลการประมวลที่ได้ออกมาทางหน้าจอแสดงผล (Monitor) นั่นเอง

                 RAM จะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ ทั้งในแบบของ Input และ Output โดยการเข้าถึงข้อมูลของ RAM นั้น จะเป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม หรือ Random Access ซึ่งหมายถึงโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล

เนื้อที่ของ RAM ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักดังนี้

1. Input Storage Area

                ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Device) เช่น ข้อมูลที่ได้มาจากคีย์บอร์ด โดยข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป

2. Working Storage Area 

                 ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล

3. Output Storage Area

                 ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ เช่นหน้าจอแสดงผล เป็นต้น

4. Program Storage Area

                  เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS:Column Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS:Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน

                 จากหน้าที่และประโยชน์ของ RAM ข้างต้น ยิ่งเราติดตั้ง RAM เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์มาก ประสิทธิภาพและความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลก้จะดีขึ้นและเร็วขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้การเลือก RAM ต้องคำนึงถึงความเร็วการรับ-ส่งข้อมูล (BUS) ระบบปฏิบัติการ และความจุของ Slot สำหรับเสียบ RAM ประกอบด้วย

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

                   ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์มีมากมายมหาศาล มีลักษณะเด่นหลายประการ และถูกนำมาประยุต์ใช้ในชีวิตประจำวันหลายรูปแบบ จนไร้ขีดจำกัด แต่สามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้


1.) งานธุรกิจ 

                บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย

2.) งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข 

                   สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น

3.) งานคมนาคมและสื่อสาร 

                 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน



4.) งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกร

                 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน

5.) งานราชการ 

                 เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น

6.) การศึกษา 

                การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้นที่ควรทราบ


คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้นที่ควรทราบ


1. Computer = คอมพิวเตอร์

2. Software = ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม

3. Hardware = อุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก

4. Input unit = หน่วยรับเข้า

5. Output unit = หน่วยส่งออก

6. Main Memory unit = หน่วยความจำหลัก

7. Secondary memory unit = หน่วยความจำรอง

8. Keyboard = แป้นพิมพ์

9. Word = คำหรือคำศัพท์

10. Ram = เก็บข้อมูลและโปรแกรม

11. Online = การติดต่อ

12. Upload = การโหลดข้อมูล

13. Network = เครือข่าย

14. Fax modem = โมเด็มที่ส่งแฟกซ์ได้

15. Web Site = หน้าต่างของเนต

16. Antivirus Program = โปรแกรมป้องกันไวรัส

17. Computer System = ระบบคอมพิวเตอร์

18. Information System = ระบบขอมูล

19. Computer Network = ระบบเครือข่าย

20. User = ผู้ใช้

21. Account = บัญชีผู้ใช้

22. USB = หน่วยเก็บข้อมูล

23. .net = แสดงเว็บของบริษัท

24. Keyword = รหัสของบางโปรแกรม

25. Multimedia = สื่อประสม

26. Bus = การเชื่อมต่อเครือข่าย

27. Browser = เป็นชื่อใช้เรียกซอฟต์แวร์

28. Bug = ความผิดพลาดของคอม

29. Database = ฐานข้อมูล

30. CD-ROM = ตัวจัดการกับแผ่นต่างๆ

31. Compact Disc = อุปกรณ์ประเภทแผ่น

32. Mouse = เมาส์

33. Light pen = ปากกาแสง

34. Track ball = ลูกกลมควบคุม

35. Joystick = ก้านควบคุม

36. Scanner = เครื่องกราดตรวจ

37. Touch screen = จอสัมผัส

38. Control Unit = หน่วยควบคุม

39. Rom = หน่วยความจำแบบอ่าน

40. Diskette = แผ่นบันทึก

41. Harddisk = ฮาร์ดดิสก์

42. Magnetic Tape = เทปแม่เหล็ก

43. Monitor = จอภาพ

44. Printer = เครื่องพิมพ์

45. Laser printer = เครื่องพิมพ์เลเซอร์

46. Line printer = เครื่องพิมพ์รายบรรทัด

47. Speaker = ลำโพง

48. Microsoft Word = โปรแกรมเวิร์ด

49. Microsoft Excel = โปรแกรมเอกเซล

50. Microsoft PowerPoint = โปรแกรมเพาเวอร์พอยนต์



51. Desktop = โปรแกรมเดสทอป

52. E-mail = จดหมาย

53. Chat = การสื่อสารผ่านเครือข่าย

54. Web cam = กล้องสำหรับติดต่อ

55. Modem = เครื่องแปลสัญญาณ

56. Wireless Card = การ์ดเครือข่ายไรสาย

57. Icon = สัญลักษณ์

58. Desktop = พื้นหลังของหน้าจอ

59. Task bar = แถบงาน

60. Stand By = สแตนด์บาย

61. Turn Off = ปิดเครื่อง

62. Restart = รีสตาร์ท

63. Data = ขอมูล

64. Source = แหล่งกำเนิดข่าวสาร

65. Sink = จุดหมายปลายทางของสาร

66. Medium Data = สื่อกลางนำข้อมูล

67. Protocol = โปรโตคอล

68. Copy = คัดลอก

69. Delete = ลบข้อมูล

70. Open = เปิดเอกสาร

71. File = ที่เก็บเอกสาร

72. Minimize = ย่อขนาดเล็กสุด

73. Maximize = ขยายใหญ่สุด

74. Task = งานหนัก

75. Scheme = แผนผัง

76. Symbol = เครื่องหมาย

77. GPS = สัญญาณแผนที่บนโลก

78. Password = รหัสผ่าน

79. E-card = บัตรอวยพร

80. Theme = หัวข้อเรื่อง

81. Wan = ข่ายงานบริเวณกว่าง

82. Wed page = หน้าเว็บ

83. Sticker = ฉลากติด

84. Folder = แฟ้มเก็บงาน

85. Format = รูปแบบ

86. Access Point = ตำแหน่งที่เข้าถึงสัญญาณ

87. Document = เอกสาร

88. Explorer = นักสำรวจ

89. Hyperlink = การเชื่อมโยงหลายมิติ

90. Normal = ปกติ ธรรมดา

91. Internet = ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่

92. Border = ชายแดน ขอบ ริม

93. Card = บัตร แผ่นวงจร

94. Restore = ฟื้นฟู ซ่อมแซม

95. Engine = เครื่อง ประมวลผล

96. Cursor = แสงกระพริบบอกตำแหน่ง

97. LAN = ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่

98. Operator = ผู้ควบคุม

99. Directories = สารบบ




100.Close = ปิดโปรแกรม

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์


                ถ้าเป็นสมัยก่อนคงต้องคิดหนักในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละครั้ง เพราะราคาสูงระดับหลายหมื่นบาท ยิ่งถ้าเป็นโน๊ตบุค ราคาก็เฉียดๆแสน พอถึงเวลาซื้อคอมพิวเตอร์ทีต้องคิดแล้วคิดอีก จนบางทีผ่านไปเป็นเดือนยังไม่ได้ซื้อ

                แต่ในสมัยนี้ราคาถูกกว่าสมัยก่อนมาก อีกทั้งสเปคเครื่องก็สูงขึ้น สวยงามขึ้น กระทัดรัดมากขึ้น ราคาก็ไม่ได้แพงเกินกำลัง เพียงแค่หมื่นเดียวก็เลือกซื้อคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพดีๆได้แล้ว

                การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์นั้นมีทั้งแบบซื้อตามที่ร้านจัดสเปคมาให้ หรือถ้าเรามีความรู็หน่อยจะสั่งสเปคไปแล้วให้ร้านประกอบให้ก็ได้ (กรณีซื้อ Desktop PC)

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ขอแยกลูกค้าออกเป็น 3 ประเภทดังนี้


1.) บุคคลทั่วไป

                 การใช้งาน ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอิเตอร์เน็ต โปรแกรมเอกสาร รวมความว่าการใช้งานโปรแกรมเบื้องต้นทั้งหมด หากดูแล้วพฤติกรรมการใช้งานมีเพียงเท่านี้ ก็ไม่ต้องคิดมากเลยครับ สิ่งที่ต้องดูมีเพียง ความสวยงาม ราคา และประกันเท่านั้นเอง

ความสวยงาม : เอาสีและรูปร่างตามที่ชอบเลยครับ

ราคา : เลือกร้านที่ราคาที่ถูกที่สุด ของแถมเยอะๆ

ประกันอุปกรณ์ : ส่วนใหญ่ไม่น่าจะต่ำกว่า 1 ปี และอย่าลืมเก็บเอกสารให้ดีด้วย

                 การเลือกซื้อก็อย่าลืมดูร้านที่ดูน่าเชื่อถือ คือดูแล้วไม่น่าจะปิดหายไปง่ายๆ เวลามีปัญหาจะได้มาติดต่อได้ ราคาที่ควรซื้อในปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) ไม่ควรเกิน 15,000 บาท

2.) บุคคลทั่วไป เล่นเกมส์ด้วย

                การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ต้องใช้ทรัพยากรเครื่องสูงมากพอสมควร ไม่เช่นนั้น ทั้งภาพและเสียงอาจจะทำให้เกมส์นั้นหมดสนุก ดังนั้นสิ่งที่ต้องศึกษาสำหรับนักเล่นเกมส์ ก็คือ CPU การ์ดจอ และ RAM ใช้งบประมาณ 15,000-50,000 บาท

CPU : AMD แบบ Quad Core รุ่นไหนก็ได้

RAM : DDR SDRAM 4G

VGA card : ขั้นต่ำ Geforce4

                   หากใครต้องการเน้นภาพสวยเป็นพิเศษสามารถเพิ่มการ์ดจอได้เลย แต่ต้องดูให้ดีว่ารองรับ Main Board เครื่องเราหรือไม่ 

3.) มืออาชีพในด้านคอมพิวเตอร์

                   หากเป็นมืออาชีพในสาขาต่างๆเช่น นักพัฒนาและออกแบบโปรแกรม กราฟฟิกดีไซด์เนอร์  นักออกแบบเกมส์ นักตัดต่อภาพและเสียง คงต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ยิ่งถ้าเป็น Cracker หรือ Hacker ด้วยแล้ว เรียกได้ว่า มีเท่าไหร่ ใส่ไม่ยั้งเลย คาดว่าแต่ละคนคงใช้งบประมาณ ไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท ไปจนถึงหลายแสนบาทเลยทีเดียว

                 การปรับแต่งของมืออาชีพนั้น มักจะไม่ใช้ของธรรมดาตามที่ขายทั่วไป แต่จะนำมาดัดแปลงและปรับแต่งเอง ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงไม่ขอนำสเปคต่างๆมาลง เพราะคนที่จะซื้อคงไม่ต้องเข้ามาอ่านในนี้ เนื่องจากมีความรู้สูงอยู่แล้ว


คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง



คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1.) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)

                 เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่า คอมพิวเตอร์แบบอื่น ดังนั้นจึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ สามารถคำนวนเลขที่มีจุดทศนิยม ด้วยความเร็วสูงมาก ขนาดหลายร้อยล้านจำนวนต่อวินาที งานที่ให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำแค่ 1 วินาที ถ้าหากเอามาให้คนอย่างเราคิด อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าร้อยปี 

                 ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะที่จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เมื่อต้องมีการคำนวนมากๆ อย่างเช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่าย จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา หรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากร งานวิเคราะห์พยากรณ์อากาศ งานทำแบบจำลองโมเลกุล ของสารเคมี งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร ที่ซับซ้อน คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ มีราคาค่อนข้างแพง



2.) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

                คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟรม นั่นเอง เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ



3.) เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer) 

                เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ )





4.) มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) 

                เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญ ของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้ มีใช้ตามสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง



5.) ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

                 เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้ทำงานคนเดียว จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) เป็นคอมพิวเตอร์ใช้งานที่พบได้อย่างแพร่หลาย จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้งล่ะคนเดียว หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย

ลักษณะของไมโครคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ เป็นรูปแบบย่อยดังนี้

5.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานทั่วไป ที่เรียกว่า Desktop Models รวมถึง Mini tower / Tower Models



5.2เครื่องพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือ Notebook Computer หรือ Laptop Computer





5.3เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดฝ่ามือ หรือ Handheld Personal Computers (H/PCs)

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์



                ในปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคนคือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และเจเพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J. Presper Eckert) ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเป็นเครื่องแรกของโลกมีชื่อว่าอินิแอค (Electronic Numerical Integrator And Calculator : ENIAC) โดยเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศและใช้งานที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียในระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ก็มีการสร้างคอมพิวเตอร์และเครื่องคำนวณ ที่ใช้หลอดสุญญากาศขึ้นอีกหลายรุ่น เช่น IBM 603, IBM 604 และ IBM SSEC แต่เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ไอบีเอ็มสร้างในยุคหลอดสุญญากาศยุคแรกนี้ยังเน้นในเรื่องการคำนวณ


              เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ถูกสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2489  ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่มาก ใช้เนื้อที่ห้องถึง  15,000  ตารางฟุต  มีน้ำหนัก  30  ตัน  ใช้หลอดสุญญากาศ  18,000  หลอด  เวลาทำงานต้องใช้ไฟฟ้าถึง  140   กิโลวัตต์

หลอดสูญญากาศ

                นับแต่ปี พ.ศ.2489  เป็นต้นมา  เครื่องคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับ ทั้งทางแนวความคิดด้านอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์  และโปรแกรมคำสั่งหรือซอฟต์แวร์จนมาถึงปัจจุบัน  และสำหรับอนาคต  เราสามารถแบ่งการพัฒนาคอมพิวเตอร์เป็นยุคต่าง ๆ  ได้ดังนี้

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1  (พ.ศ.2487 – 2498)  

                เป็นช่วงที่ผู้สร้างคอมพิวเตอร์กำลังพัฒนาความคิดและทฤษฎีต่าง ๆ  ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ยังเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น  และอยู่ในวงแคบ ทั้งด้านการออกแบบวงจรคำนวณและการใช้คำสั่ง  คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศเป็นหน่วยพื้นฐานของวงจร  หน่วยความจำเป็นรีเลย์หรือเป็นหลอดไฟฟ้าสถิต  ซึ่งทำงานช้าและเสียหายง่าย  ภาษาที่ใช้สำหรับสั่งงานเป็นภาษาระดับต่ำหรือใช้สายไฟฟ้าสำหรับเสียบเพื่อสั่งงาน  เครื่องในยุคนี้  ได้แก่  เครื่อง ENIAC



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2  (พ.ศ.2499 - 2508)  

               คอมพิวเตอร์ในยุคนี้นำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้น  กินไฟน้อย  ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลงและใช้พื้นที่ไม่มากนัก  มีการใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ  มีการเพิ่มอุปกรณ์การรับ – ส่งข้อมูลและการแสดงผลลัพธ์ออกไปในหลายอุปกรณ์  เช่น  การใช้จานแม่เหล็ก  การใช้บัตรเจาะรู  การใช้จอภาพและแป้นพิมพ์  การใช้เครื่องพิมพ์  เป็นต้น 

              คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นใช้ภาษาระดังสูง  เช่น  ฟอร์แทน  โคบอล  อัลกอล  ซึ่งภาษาเหล่านี้มีลักษณะเป็นสมการ  สูตรคณิตศาสตร์  หรือประโยคคำสั่งคล้ายภาษาเขียน  แทนการใช้ภาษาเครื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน





คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3  (พ.ศ.2509 – 2518)  

               คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้วงจรรวม (Integrated  Circuit) แทนการใช้ทรานซิสเตอร์แบบเดิม มีการใช้ชุดคำสั่งและระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆรุ่น  และหลายๆขนาด โดยสามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์หลาย ๆ  เครื่องเข้าเป็นระบบช่วยงาน  นอกจากั้นยังเกิดวิธีการใหม่ในการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่เรียกว่าการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างอีกด้วย


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4  (พ.ศ.2519 – 2532)  

                คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หน่วยประมวลผลขนาดใหญ่ (Very  Large  Scale  Integration)  การเปลี่ยนหน่วยความจำจากวงแหวนแม่เหล็กมาเป็นหน่วยความจำจากสารกึ่งตัวนำ  ที่เรียกว่า  RAM  (Random  Access  Memory)  ซึ่งผลิตได้ง่ายและทำงานได้เร็วขึ้นกว่าวงแหวนแม่เหล็ก  อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ  ถูกปรับปรุงให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น  คอมพิวเตอร์ถูกปรับปรุงให้ทำงานได้เร็วขึ้น  เช่น  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์  จอภาพมีหลายแบบ  และมีความละเอียดมากขึ้น  สื่อบันทึกข้อมูลมีมากแบบและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นทั่งด้านความจุและความเร็วในการบันทึกข้อมูล  

               ในยุคนี้มีการเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในราคาที่ถูกลง  ซึ่งมักเรียกว่า  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  (Personal  Computer)  ส่งผลให้มีการใช้คอมพิวเตอร์แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ประกอบธุรกิจและประชาชนโดยทั่วไป  ความก้าวหน้าด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้เพิ่มพูนเป็นทวีคูณทั้งด้านซอฟต์แวร์  ฮาร์ดแวร์  และระบบเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์  โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่กำลังแพร่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5  (พ.ศ.2533 – ปัจจุบัน) 

                 ในยุคนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์  และความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน  มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก  (Portable  Computer)  ขึ้นใช้งานในยุคนี้  โครงการพัฒนาอุปกรณ์  VLSI  ให้ใช้งานง่าย  และมีความสามารถสูงขึ้น  รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์  (Artificial  Intelligence  :  AI)  เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้  โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล



                ในอนาคตหากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก็คงจะมีคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 6, 7, 8 , 9 ไปเรื่อยๆ สังเกตุว่ายิ่งคอมพิวเตอร์มีความทันสมัยมากเท่าไร ขนาดของเครื่องยิ่งมีขนาดเล็กลงมากตามไปด้วย

คอมพิวเตอร์ คืออะไร

คอมพิวเตอร์ คืออะไร

               คอมพิวเตอร์ ภาษาไทยเรียกว่า "คณิตกรณ์" คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม 

               Computer มาจากภาษาละตินว่า Computare หมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" 

                ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ขั้นตอนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

                คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ  โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output   ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ




ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)

               เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

อุปกรณ์ Input


ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)

                 เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

อุปกรณ์ Process (CPU)


ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)

                 เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

อุปกรณ์ Output


ประเภทของคอมพิวเตอร์

        ประเภทของคอมพิวเตอร์ถ้าจำแนกตามลักษณะ วิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) และดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)

Analog Computer (แอนะล็อกคอมพิวเตอร์)

                แอนะล็อกคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ ไม้บรรทัดคำนวณถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ โดยใช้ไม้บรรทัดที่มีขีดแสดงตำแหน่งของตัวเลขการคำนวณจะใช้ไม้บรรทัดหลายอันมาประกอบเพื่อหาผลลัพธ์

               ยกตัวอย่างเช่น การคูณ ซึ่งจะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งให้ไปตรงตามขีดตัวเลขที่เป็นตัวตั้งและตัวคูณในไม้บรรทัดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณที่ขีดตัวเลขซึ่งอยู่บนอีกไม้บรรทัดหนึ่ง แอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยใช้แรงดันไฟฟ้าแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด

                แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่นสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว เป็นต้น 

                ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ เพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนัก เพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้เฉพาะงานบางอย่างเท่านั้น

Analog Computer

Digital Computer (ดิจิทัลคอมพิวเตอร์)

                ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลัก แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือ 0 และ 1 เท่านั้น โดยสัญลักษณ์ทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด เครื่องดิจิทัลคอมพิวเตอร์หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า คอมพิวเตอร์ กำลังได้รับความนิยมกันมากในขณะนี้ และพบเห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

Digital Computer