วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์



                ในปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคนคือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และเจเพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J. Presper Eckert) ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเป็นเครื่องแรกของโลกมีชื่อว่าอินิแอค (Electronic Numerical Integrator And Calculator : ENIAC) โดยเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศและใช้งานที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียในระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ก็มีการสร้างคอมพิวเตอร์และเครื่องคำนวณ ที่ใช้หลอดสุญญากาศขึ้นอีกหลายรุ่น เช่น IBM 603, IBM 604 และ IBM SSEC แต่เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ไอบีเอ็มสร้างในยุคหลอดสุญญากาศยุคแรกนี้ยังเน้นในเรื่องการคำนวณ


              เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ถูกสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2489  ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่มาก ใช้เนื้อที่ห้องถึง  15,000  ตารางฟุต  มีน้ำหนัก  30  ตัน  ใช้หลอดสุญญากาศ  18,000  หลอด  เวลาทำงานต้องใช้ไฟฟ้าถึง  140   กิโลวัตต์

หลอดสูญญากาศ

                นับแต่ปี พ.ศ.2489  เป็นต้นมา  เครื่องคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับ ทั้งทางแนวความคิดด้านอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์  และโปรแกรมคำสั่งหรือซอฟต์แวร์จนมาถึงปัจจุบัน  และสำหรับอนาคต  เราสามารถแบ่งการพัฒนาคอมพิวเตอร์เป็นยุคต่าง ๆ  ได้ดังนี้

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1  (พ.ศ.2487 – 2498)  

                เป็นช่วงที่ผู้สร้างคอมพิวเตอร์กำลังพัฒนาความคิดและทฤษฎีต่าง ๆ  ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ยังเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น  และอยู่ในวงแคบ ทั้งด้านการออกแบบวงจรคำนวณและการใช้คำสั่ง  คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศเป็นหน่วยพื้นฐานของวงจร  หน่วยความจำเป็นรีเลย์หรือเป็นหลอดไฟฟ้าสถิต  ซึ่งทำงานช้าและเสียหายง่าย  ภาษาที่ใช้สำหรับสั่งงานเป็นภาษาระดับต่ำหรือใช้สายไฟฟ้าสำหรับเสียบเพื่อสั่งงาน  เครื่องในยุคนี้  ได้แก่  เครื่อง ENIAC



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2  (พ.ศ.2499 - 2508)  

               คอมพิวเตอร์ในยุคนี้นำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้น  กินไฟน้อย  ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลงและใช้พื้นที่ไม่มากนัก  มีการใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ  มีการเพิ่มอุปกรณ์การรับ – ส่งข้อมูลและการแสดงผลลัพธ์ออกไปในหลายอุปกรณ์  เช่น  การใช้จานแม่เหล็ก  การใช้บัตรเจาะรู  การใช้จอภาพและแป้นพิมพ์  การใช้เครื่องพิมพ์  เป็นต้น 

              คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นใช้ภาษาระดังสูง  เช่น  ฟอร์แทน  โคบอล  อัลกอล  ซึ่งภาษาเหล่านี้มีลักษณะเป็นสมการ  สูตรคณิตศาสตร์  หรือประโยคคำสั่งคล้ายภาษาเขียน  แทนการใช้ภาษาเครื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน





คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3  (พ.ศ.2509 – 2518)  

               คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้วงจรรวม (Integrated  Circuit) แทนการใช้ทรานซิสเตอร์แบบเดิม มีการใช้ชุดคำสั่งและระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆรุ่น  และหลายๆขนาด โดยสามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์หลาย ๆ  เครื่องเข้าเป็นระบบช่วยงาน  นอกจากั้นยังเกิดวิธีการใหม่ในการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่เรียกว่าการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างอีกด้วย


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4  (พ.ศ.2519 – 2532)  

                คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หน่วยประมวลผลขนาดใหญ่ (Very  Large  Scale  Integration)  การเปลี่ยนหน่วยความจำจากวงแหวนแม่เหล็กมาเป็นหน่วยความจำจากสารกึ่งตัวนำ  ที่เรียกว่า  RAM  (Random  Access  Memory)  ซึ่งผลิตได้ง่ายและทำงานได้เร็วขึ้นกว่าวงแหวนแม่เหล็ก  อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ  ถูกปรับปรุงให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น  คอมพิวเตอร์ถูกปรับปรุงให้ทำงานได้เร็วขึ้น  เช่น  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์  จอภาพมีหลายแบบ  และมีความละเอียดมากขึ้น  สื่อบันทึกข้อมูลมีมากแบบและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นทั่งด้านความจุและความเร็วในการบันทึกข้อมูล  

               ในยุคนี้มีการเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในราคาที่ถูกลง  ซึ่งมักเรียกว่า  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  (Personal  Computer)  ส่งผลให้มีการใช้คอมพิวเตอร์แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ประกอบธุรกิจและประชาชนโดยทั่วไป  ความก้าวหน้าด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้เพิ่มพูนเป็นทวีคูณทั้งด้านซอฟต์แวร์  ฮาร์ดแวร์  และระบบเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์  โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่กำลังแพร่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5  (พ.ศ.2533 – ปัจจุบัน) 

                 ในยุคนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์  และความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน  มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก  (Portable  Computer)  ขึ้นใช้งานในยุคนี้  โครงการพัฒนาอุปกรณ์  VLSI  ให้ใช้งานง่าย  และมีความสามารถสูงขึ้น  รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์  (Artificial  Intelligence  :  AI)  เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้  โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล



                ในอนาคตหากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก็คงจะมีคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 6, 7, 8 , 9 ไปเรื่อยๆ สังเกตุว่ายิ่งคอมพิวเตอร์มีความทันสมัยมากเท่าไร ขนาดของเครื่องยิ่งมีขนาดเล็กลงมากตามไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น